รับติดตั้งโซล่าเซลล์อาคารสำนักงาน ตึกพานิช (Solar Panels Rooftop Building )
ระบบโซล่าเซลล์สำหรับอาคารสำนักงาน ตึกพานิช เหมาะสำหรับบริษัท ห้างร้านที่มีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก ทั้งเครื่องปรับอากาศ, คอมพิวเตอร์, เครื่องถ่ายเอกสาร/ปริ้นเตอร์, ระบบแสงสว่าง, ระบบ Sever ตู้เย็น เครื่องชงกาแฟ ไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดติดตั้งเริ่มต้นที่ 10 – 40 กิโลวัตต์ ซึ่งสำหรับอาคารประเภทนี้สามารถลดค่าไฟได้สูงถึง 50-70 เปอร์เซ็นต์ ของค่าไฟปัจจุบัน ระยะเวลาคืนทุนของโครงการประมาณ 5-7 ปี โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟ.
บริษัท ไอที สมาร์ท ซิสเต็มส์ จำกัด รับติดตั้งโชล่าเซลล์อาคารสำนักงาน ตึกพานิช Solar Cell Rooftop Building บนหลังคาแบบ On-Grid เหมาะกับบ้านที่มีค่าไฟเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 - 30,000 บาท ขนาดติดตั้งเริ่มต้นที่ 10 - 40 กิโลวัตต์ เรายินดีให้ปรึกษาประเมินหน้างานฟรี ดูแลการติดตั้งโดยทีมช่างผู้ชำนาญ มีประสบการณ์ ภายใต้การควบคุมจากวิศวะกร.
วีดีโอแนะนำเกี่ยวกับเรา
บริษัท ไอที สมาร์ท ซิสเต็มส์ จำกัด รับติดตังโชล่าเซลล์อาคารสำนักงาน ตึกพานิช Solar Cell Rooftop Building บนหลังคาบ้านแบบ On-Grid เรายินดีให้ปรึกษาประเมินหน้างานฟรี ดูแลการติดตั้งโดยทีมช่างผู้ชำนาญ มีประสบการณ์ ภายใต้การควบคุมจากวิศวะกร.
คำถามที่พบบ่อย
รับประกันผลงานติดตั้งโซล่าเซลล์ทั้งระบบและเงื่อนไข
1. รับประกันผลงานติดตั้งทั้งระบบ 3 ปี
2. บริการตรวจสอบระบบและทำความสะอาดแผง ปีละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลารับระกัน 3 ปี
3. การรับประกันอุปกรณ์ ตามรายการดังนี้
- แผงโซล่าเซลล์รับประกัน 12 ปี และรับประกันการผลิตไฟ 25 ปี
- อินเวอร์เตอร์รับประกัน 10 ปี
- อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ รับประกัน 3 ปี
4. ค่าบริการตรวจสอบระบบและล้างแผง(O&M Services) เริ่มต้น 5,000 บาท/ครั้ง*
5. งานซ่อมเครื่อง และบริการอื่นๆ คิดราคาตามอาการ
ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าแล้ว หรือเพื่อใช้ภายในอาคารหรือกิจการซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสามารถยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับได้ Online บน Website ของสำนักงาน กกพ. ส่วนกลางหรือสำนักงาน กกพ. ประจำเขตในแต่ละพื้นที่อาคารตั้งอยู่
สรุปว่าการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าซึ่งไม่ได้จำหน่ายเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการดังนี้
- 1. จัดทำแบบการติดตั้งโดยให้วิศวกรโยธาตรวจสอบและลงนาม แล้วแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล,อบต. เป็นต้น) รับทราบการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ บนหลังคาที่พักอาศัย
- 2. ผู้ขออนุญาตติดตั้งได้รับหลักฐานจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- 3. ดำเนินการติดตั้งจนเสร็จสิ้น
- 4. ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต (สำนักงาน กกพ./Online )
- 5. แจ้ง กฟน. หรือ กฟภ. ให้เข้าตรวจสอบระบบแล้วชำระค่าใช้จ่าย
- 6. สำนักงาน กกพ. ออกหนังสือแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ
- 7. ยื่นสำเนาหนังสือรับแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ ต่อ กฟน. หรือ กฟภ.
- 8. เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต/เชื่อมโยงไฟฟ้า ตามข้อกำหนด
- 9. เริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าหรือใช้งานระบบฯ
Credit: http://www.erc.or.th/ERCWeb2/Front/StaticPage/StaticPage.aspx?p=200&Tag=SolarRooftop
การติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบ On Grid เป็นระบบที่ต้องเชื่อมโครงข่ายหรือต่อคู่ขนานกับการไฟฟ้า โดยหากผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์เกิน ก็สามารถนำมาขายคืนให้การไฟฟ้าได้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ต้องมีการขออนุญาตรวมถึงทำสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้าด้วย ขั้นตอนการขายไฟฟ้าจากการติดตั้งโชล่าเซลล์ให้แก่ กฟภ. ดังนี้
1. ยื่นพิจารณาขอจำหน่ายไฟฟ้า กฟภ.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. จะรับซื้อไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ปริมาณไม่เกิน 10 เม็กกะวัตต์ โดยขั้นตอนการดำเนินการ ขายไฟ กฟภ. เริ่มต้นจากยื่นแบบขอจำหน่ายไฟฟ้า / ใบขอรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า และข้อมูลประกอบต่อกฟภ. หลังจากนั้นจะเป็นการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร สำรวจข้อมูลประกอบการรับซื้อไฟฟ้า และวิเคราะห์การเชื่อมโยงระบบและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขายไฟฟ้าทราบ หากไม่มีการปรับปรุงใด ๆ จะแจ้งค่าใช้จ่ายให้ทราบภายในระยะเวลา 15 วัน
2. การทำสัญญาขายไฟฟ้า
หลังจากผ่านการพิจารณายื่นขออนุญาต ขายไฟ กฟภ. แล้ว ผู้ประสงค์จะขายไฟฟ้า ต้องดำเนินการประสานงานทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลา 60 วัน นับจากวันที่ กฟภ. มีหนังสือแจ้งตอบรับการขายไฟฟ้า โดยต้องดำเนินการจัดเตรียมเอกสารในการทำสัญญา ทั้งหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล เอกสารของผู้ลงนามในสัญญาซื้อขาย แผนการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยกฟภ. จะจัดทำสัญญาและให้ผู้ขายลงนาม โดยสัญญาจะมีจำนวน 2 ชุด ต้นฉบับจะเก็บไว้ที่ กฟภ. ส่วนคู่ฉบับจะมอบให้ผู้ขายไฟฟ้ากลับไป
3. การพิจารณาอนุญาตให้ขนานเครื่องกำเนินไฟฟ้ากับระบบของกฟภ.
เมื่อได้มีการลงนามซื้อขายไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยภายหลังจากที่มีการสร้างโรงไฟฟ้า หรือติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้วเสร็จ ผู้ขายไฟฟ้า ต้องส่งรายละเอียดแบบแปลนการติดตั้ง อุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าทั้งหมดให้ กฟภ. ตรวจสอบ เพื่อพิจารณาการอนุญาตให้ขนานเครื่องกำเนินไฟฟ้ากับระบบของ กฟภ. โดยจะมีการไปสำรวจ และปรับปรุงระบบจำหน่ายเพื่อรองรับการเชื่อมโยง รวมทั้งการแจ้งค่าใช้จ่าย และและการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อผู้ขายไฟชำระค่าใช้จ่ายเริ่มร้อย ทางกฟภ. จึงจะดำเนินการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมต่อการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
4. การทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบจำหน่ายของกฟภ.
เมื่อ กฟภ. ได้มีการสำรวจ และติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบแล้วว่าระบบมีความพร้อม กฟภ. จะเข้าดำเนินการทดสอบเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบจำหน่ายของ กฟภ. ภายในระยะเวลา 30 วัน โดยผู้ขายไฟฟ้าต้องแสดงใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า และใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า กำหนดวันทดสอบ และผู้ขายไฟ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกฟภ. ร่วมทำการทดสอบระบบ ภายใต้ข้อกำหนดการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ.
5. เริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการ ขายไฟ กฟภ. เมื่อมีการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนหน้านี้แล้วเสร็จครบถ้วน ผู้ขายไฟ และ กฟภ. จะเริ่มต้นขายไฟฟ้า ภายในระยะเวลา 15 วัน นับจากผ่านการทดสอบการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนานกับระบบจำหน่ายของ กฟภ. เสร็จสิ้น โดยจะมีการกำหนดวันเริ่มต้นขายไฟฟ้า การชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการในการซื้อขาย รวมไปถึงการลงนามจดหน่วยมาตรวัดซื้อขายไฟฟ้าร่วมกัน เป็นการเริ่มต้นการขายไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ