หรือเรียกว่า โรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นระบบโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่ (PV) ที่ออกแบบมาสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากๆ ระดับเมกะวัตต์ MW อุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ใช้ไม่มีวันหมดและเป็นการผลิตที่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ และเป็นพลังงานทางเลือกที่ใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิลอย่างน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินซึ่งนับวันจะหมดไป
ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในเขตศูนย์เส้นสูตร ทำให้มีช่วงเวลาในการรับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีอย่างมากมาย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับแสงอาทิตย์เฉลี่ยวันละประมาณ 5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าประเทศทางแถบยุโรปที่มีค่าเฉลี่ยเพียงวันละ 3-4 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อตารางเมตร จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสำหรับธุรกิจโซล่าฟาร์มเป็นอย่างมาก โดยระบบโซล่าฟาร์มมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ต่างกันไป ดังนี้
- 1. แย่งพื้นที่ทำการเกษตร ผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์จะใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า5ไร่
- 2. อุปกรณ์ทั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอินเวอร์เตอร์ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เราผลิตเองไม่ได้
- 3. ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เพราะผลประโยชน์ที่ผู้ลงทุนได้รับจากค่าแอดเดอร์หรือ ฟีดอินทารีฟนั้น รัฐจะไปเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกรายในรูปค่าเอฟที
- 4. ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังไม่มีระบบแบตเตอรี่กักเก็บ จึงผลิตแล้วต้องใช้ ในช่วงเวลากลางวันที่มีแดด ดังนั้น คนที่ไปลงทุนในต่างจังหวัด ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย กำลังผลิตส่วนที่เหลือจะส่งเข้าระบบสายส่ง เดินทางมาให้กับฝั่งที่มีความต้องการใช้ ถ้าเดินทางไกลมาก ไฟฟ้าก็จะสูญเสียระหว่างทางจึงควรต้องกำหนดโซนนิ่ง เพื่อให้อยู่ใกล้กับพื้นที่มีความความต้องการใช้ไฟฟ้า
- 5. ถึงแม้จะมีการส่งเสริมไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แค่ไฟฟ้าที่พึ่งพาได้ กฟผ.คิดเป็นประมาณ20% เท่านั้น ดังนั้น กฟผ.ยังต้องสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน อีก 80% ของกำลังผลิต มาแบ็คอัพให้ (ถ้ารัฐตั้งเป้าให้มีแสงอาทิตย์2,000เมกะวัตต์กฟผ.ต้องสร้างโรงไฟฟ้าแบ็คอัพให้อีก 1,600เกมะวัตต์ ถือเป็นการลงทุนที่ซ้ำซ้อน)
- พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย คือไม่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ราคาค่าแผงโซล่าเซลล์ถูกลงเรื่อย ๆ จึงควรจะมีไว้เป็นพลังงานทดแทน